วันพุธที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2554

ประเมิน วิชา การแปล 2

การศึกษาในยุคปัจจุบันนี้เป็นการศึกษาที่ไร้พรมแดน ที่ผู้เรียนไม่ว่าจะระดับใด วัยใดก็ตามสามารถที่จะศึกษาหาความรู้ได้ตลอดเวลาทั้งในและนอกห้องเรียน ล้วนแล้วแต่เป็นความรู้ทั้งสิ้น แม้แต่อยู่ที่บ้านก็สามารถเรียนรู้ได้เองหรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า"การศึกษาตาามอัธยาศัย" คือ ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนในสิ่งที่ตนเองอยากเรียน อยากรู้ อยากเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ให้มากยิ่งขึ้น ทุกๆ รายวิชาล้วนมีความสำคัญเป็นอย่างยิิ่ง แต่ยังมีอีกวิชาหนึ่ีงซึ่งสำคัญไม่แพ้วิชาอื่นๆ คือ วิชาภาษาอังกฤษ ในยุคนี้อาจถือได้ว่าภาษาอังกฤษเข้ามามีบทบาทเป็นอย่างยิ่ง เพราะภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากลและใช้ติดต่อสื่อสารระหว่างกันเกือบทุกภูมิภาคของโลก จึงเป็นความได้เปรียบของผู้ที่เรียนภาษาอังกฤษและใช้ภาษาอังกฤษอย่างสม่ำเสมอมากกว่าผู้ที่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษ การศึกษาในยุคปัจจุบันนี้รัฐบาลได้มีการสนับสนุนและปรับเปลี่ยน พัฒนายกระดับคุณภาพการศึกษาไทยให้ทันต่อโลกที่เปลี่ยนแแปลงอยู่ทุกวัน ให้มีความก้าวทันต่อโลกและเทคโนโลยีที่เต็มไปด้วยนานาประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษแข่งขันกันอยู่ตลอดเวลา
ในรายวิชาการแปล 2 เป็นรายวิชาที่เกี่ยวกับการแปลล้วนๆ จากเดิมรายวิชาการแปล 1 ที่แปลจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย แต่ในรายวิชาการแปล 2 นี้ แปลจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งอยากกว่าแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยมากๆ แต่เนื่องจากการแปลเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพื่อสื่อสารให้อีกฝ่ายหนึ่งรู้ความหมายและความต้องการของอีกฝ่ายหนึ่ง ทำให้ทั้งสองฝ่ายมีความเข้าใจที่ตรงกัน การแปลมีหลายประเภท เช่น Narative(นวนิยาย,บทกวี), Recounts(การเล่าประวัติของบุคคล),Informatiom reports(รายงานข่าว), Instruction (คำชี้แจงต่างๆ ), Explanation (งานวิจัย, บทคัดย่อ), Expository text เป็นต้น
ซึ่งการแปลนี้มีความสำคัญเพราะเป็นสิ่งที่เราพบเจออยู่ในชีวิตประจำวัน ผู้แปลควรทำความเข้าใจต่อสิ่งที่ทำการแปลเพราะจะได้บอกกล่าวต่อบุคคลอื่นๆ ได้ การแปลแต่ละชนิดจะมีลักษณะโครงสร้างของมันเองและคำศัพท์ที่ใช้ ผู้แปลสควรเลื่อใช้คำศัพท์ให้เหมาะสมกับลักษณะของเนื้อความให้มีความหมายที่เหมาะสมและสอดคล้องกันเพราะบางครั้งการเลือกใช้คำศัพท์ที่ไมม่เหมาะสมอาจทำให้การแปลมีความผิดพลาดได้
อาจารย์อนิรุธ ชุมสวัสดิ์ อาจารย์เป็นผู้ที่สอนและสรุปหลักเกณฑ์ของรายวิชาการแปล 2 อาจารย์มีเนื้อหาการสอนตัวอย่างงานทั้งงานนอกแหละงานวิชาการให้นักศึกษาได้เล่าเรียนอยู่สม่ำเสมอ อาจารย์ไม่ได้สอนในส่วนของรายละเอียดเนื้อหาเพียงอย่างเดียว แต่อาจาย์ยังสอนในเรื่องของคุณธรรม จริยธรรม การปฏิบัติตนในวิชาชีพครู เพราะครูจะเก่งแต่วิชาการอย่างเดียวไม่ได้ ครูต้องเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม อันดีงาม เพ่อเป็นตัวอย่างที่ดีของนักเรียน อาจารย์พยายามหาวิธีการสอนที่หลากหลาย เช่น ทางเว็บไซส์เพื่อให้นักเรียนศึกษาเรียนรู้ทำความเข้าใจด้วยตนเอง, เชิญวิทยากรจากสถานเอกอัคราชฑูตอเมริกาประจำประเทศไทย มาแนะนำงานต่างๆ รวมถึงการประชุมผ่านทางกล้อง VDO. conference เป็นต้น อาจารย์ยังให้คำศัพท์ เช่น Autonomus learner, Self-directed learner, Independent learner หมายถึง การเรียนรู้ด้วยตนเอง และอีกหนึ่งความรู้ คือ ความแตกต่างของคำว่า I go to the hospital. และ I go to in hospital. 2 คำนี้อาจฟังคล้ายกันแต่เมื่อพิจารณาถึงความหมาย คือ ถ้าใช้ the hospital คือ ไปเยี่ยมผู้ป่วย แต่ in hospital คือ ไม่สบาย, นอนอยู่โรงพยาบาล และอาจารย์มีการปรับเปลี่ยนในการส่งการบ้าน คือ ส่งการบ้านผ่านบล็อก จากนั้นชวนบุคคลอื่นมาติชมบล็อก ว่าควรปรับปรุงแก้ไขในส่วนของเนื้อหาบ้าง หลังจากนั้นอาจารย์ให้นักศึกษาลงพื้นที่ศึกษาแหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่น ว่าท้องถิ่นนั้นมีการนำทรัพยากรในท้องถิ่นมาทำอะไรบ้าง จากนั้นอัดวีดีโอสัมภาษณ์ วิธีการทำแล้วนำเผยแพร่บน เว็บไซส์ ซึ่งเป็นงานที่ตื้นเต้นมากๆ เพราะช่วงนั้นกลุ่มข้าพเจ้าเพิ่งกลับจากการจัดค่ายให้แก่น้องๆ เครียดมากๆ แต่อุปสรรคเหล่านั้นผ่านไปได้ดวยดี พร้อมด้วยคราบน้ำตาและความเครียดและความสุขที่ทำงานสำเร็จและส่งภายในระยะเวลาที่กำหนด อาจารย์เป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่กลุ่มนักศึกษาทั้งในเรื่องของความเก่ง ความขยัน ความมีคุณธรรม จริยธรรม ในการปฏิบัติหน้าที่ด้านการศึกาาเล่าเรียน ความตรงต่อเวลา ซึ่งการตรงต่อเวลานี้เป็นสิ่งที่นักศึกษาทุกคนพึงมีและพึ่งปฏิบัติ การเคารพอาจารย์และผู้มีพระคุณให้ทดแทนบุญคุณท่าด้วยใจรัก มีความสุภาพเรียบร้อยทั้งในเรื่องการแต่งกายให้เหมาะสมถูกต้องตามกาละเทศะ
การศึกษาในคณะครุศาสตร์ โปรแกรมวิชาภาษาอังกฤษ จำเป็นอย่างยิ่งในการศึกษาหาความรู่เพิ่มเติมอยู่ตลอดเวลา ทั้งในเรื่องของวิชาการและเทคโนโลยี หรือแม้แต่นวัตกรรมใหม่ๆ ที่เข้ามามีบทบาทในทางการศึกษา เพื่อให้เกิดการเรียนใหม่ๆ และนำไปปรับปรุงวิธีการเรียนของข้าพเจ้า รวมถึงการมีคุณธรรม จริยธรรม ในการเรียนวิชาชีพครู เพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีของนักเรียนในอนาคต และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น